อุณหภูมิโลกเพิ่ม 1.5 °C ส่งผลกระทบร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด🌎🌡️
.
โดยทั่วไปหากอากาศร้อนหรือเย็นขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เราอาจไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างสักเท่าไหร่ แต่ถ้ากลับกัน หากโลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ทุกอย่างอาจเลวร้ายกว่าที่เราคิด “วิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” อันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก ส่งผลกระทบร้ายแรงและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทางลบต่างๆ เป็นวงกว้าง
.
หากเป้าหมายในการควบคุมอุณภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสไม่สำเร็จ ผลกระทบเหล่านี้จะเกิดขึ้นบนโลกเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน
.
🌎น้ำทะเลจะสูงขึ้น 0.77 เมตร
เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และการละลายของน้ำแข็งนั้นก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลบนโลกสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในอุณหภูมิที่สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสนั้น นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์เอาไว้ว่า น้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นมากถึง 0.77 เมตรเลยทีเดียว
.
🌎น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกจะหายไปในทุก 10 ปี
ตามปกติแล้ว ไม่ว่าฤดูไหนมหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เคยสิ้นแผ่นน้ำแข็ง แต่หากโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก็มีโอกาสทำให้น้ำแข็งในอาร์กติกจะหายไปทั้งหมดในช่วงฤดูร้อนทุกๆ 10 ปี ซึ่งหากมหาสมุทรอาร์กติกไม่มีน้ำแข็งเลย ก็ยิ่งทำให้โลกของเราร้อนมากและร้อนเร็วยิ่งกว่าเดิม เพราะน้ำทะเลที่เป็นสีน้ำเงินเข้มจะดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ ตรงข้ามกับแผ่นน้ำแข็งสีขาวที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนความร้อน
.
🌎216 ล้านคน อาจต้องย้ายบ้าน
หากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงขึ้นด้วย ประเทศที่อยู่ในโซนแห้งแล้งก็จะแล้งหนักยิ่งขึ้น จนไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชอาหาร หรือหาน้ำสะอาดได้ยากขึ้น เพราะธารน้ำแข็งบนภูเขาจะละลายหายไปจนหมด ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่า เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จะกระทบประชาชนอย่างน้อย 427 ล้านคน
.
🌎427 ล้านคน จะขาดอาหารและน้ำสะอาด
ความแห้งแล้งจะทำให้คนบางภูมิภาคเพาะปลูกอะไรก็ไม่งอกงาม ขณะที่บางส่วนของโลกจะเจอภัยพิบัติรุนแรงจนบ้านเรือนพังทลาย บางส่วนก็อาจสูญเสียที่ดินจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้คาดว่าทำให้ผู้คนกว่า 216 ล้านคนทั่วโลกต้องย้ายบ้านหนีภัยพิบัติ และธนาคารโลกคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2050 แม้ว่าบางส่วนอาจเป็นการอพยพเพียงชั่วคราว แต่มีไม่น้อยที่ต้องย้ายบ้านเป็นการถาวร
.
🌎แนวปะการังทั่วโลกลดลง 70-90 %
ปะการังถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวมาก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับแนวปะการัง 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก จะกระทบต่อสัตว์ในทะเลที่อาศัยปะการังเป็นบ้าน เป็นแหล่งอาหาร ทำให้ปลาน้อยใหญ่ลดหายตามไป สุดท้ายมนุษย์เราก็จะสูญเสียทั้งแหล่งอาหารที่ได้จากการทำประมงไปถึงปีละ 1.5 ล้านตันเลยทีเดียว
.
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างคร่าวๆ และเหตุผลว่า ทำไมนักวิทยาศาสตร์ถึงจริงจังกับการจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แน่นอนว่าไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ แต่พวกเราทุกคนเองก็ควรคำนึกถึงประเด็นนี้เช่นกัน
.
ปัจจุบัน ภาคธุรกิจและภาคสังคมต่างเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อน โดยที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG)
.
จึงริเริ่มโครงการ Care the Bear ภายใต้แนวคิด “Change the Climate Change” เพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนการลดสภาวะโลกร้อน สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals (SDGs) ข้อที่ 13 “Climate Action”
.
นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ง่ายๆ จากเราได้ที่ LINE @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy เรามีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
.
ติดต่อเราที่
Facebook Page : Smart Greeny
เบอร์ 089-766-1445
chanon@smartgreeny.com
Website : bit.ly/2XgcFTu
Line OA : @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy
.
#SmartGreeny #carbonfootprint #carbonfootprintforproduct #คาร์บอนฟุตพริ้นท์ #คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ #ก๊าซเรือนกระจก #ภาวะโลกร้อน #CompactGreenOfficeSoftware #CarbonFootprintSoftware #EnvironmentalConsultant #CarbonForOrganization #บริษัทสีเขียว #ลดพลังงาน #สิ่งแวดล้อม #องค์กรสีเขียว #คาร์บอนเครดิต #CarbonCredit
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Climate Care Collabration Platform