3 อุตสาหกรรมรับผลกระทบต่อกำไร หากภาษีปล่อยคาร์บอนเริ่มใช้

3 อุตสาหกรรมรับผลกระทบต่อกำไร หากภาษีปล่อยคาร์บอนเริ่มใช้

การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนหรือลดการปล่อนก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่องค์กรทั่วโลก ต่างออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศก็มาออกผลักดันและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีเจตจำนงด้วยเช่นกัน

บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ว่า ต้นกำเนิดของคาร์บอนเครดิต (Carbon credit) ปัจจุบันกระแสการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) ได้รับความสนใจอมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ โดยที่ Carbon credit ถือเป็นเครื่องมือที่คาดจะช่วยให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง

ในขณะที่ขนาดตลาดคาร์บอนเครดิตโลก ประเมินว่าจะมีอัตราเพิ่มขึ้น CAGR ที่21.1% ในปี 2566-71
จากความต้องการของบริษัทต่างๆในการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) มีมากขึ้น ทั้งนี้งานวิจัยหลายแห่งประเมินว่าอุปทานคาร์บอนเครดิตทั่วโลกยังไม่สามารถตามทันกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว

สำหรับ พัฒนาการของคาร์บอนเครดิตในโลกและประเทศไทย ในประเทศพัฒนาแล้ว (EU,จีน, และ US) มีมาตรการควบคุมการปล่อยมลพิษที่ชัดเจนและเคร่งครัดแบบภาคบังคับ ขณะที่อีกนานาประเทศกำลังพิจารณาแผนดังกล่าวเช่นกัน แต่ที่ประเทศไทยถือว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและเป็นแบบภาคสมัครใจเท่านั้น โดยมีมาตรฐาน Carbon credit อย่าง T-VER

ดังนั้นทั้งปริมาณและราคา Carbon credit ในไทยจึงยังถูกกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างมากเช่น ระบบซื้อขายสิทธิ์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในยุโรป (EU ETS) ปัจจุบันราคา Carbon credit ในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ Bt40/tCO2e เทียบกับ €105/tCO2e ในยุโรป อย่างไรก็ตามคาดการณ์กันว่าในไทยมีอุปสงค์คาร์บอนเครดิตที่~182-197MtCO2e ต่อปีขณะที่อุปทานมี 6.857MtCO2e ต่อปีโดยในเรื่องนี้หากมีการเก็บภาษีคาร์บอน ผู้ที่ก่อมลพิษจะมีต้นทุนดำเนินงานสูงขึ้น แต่มีผู้ได้รับประโยชน์จากการที่มี credits ส่วนเกินอยู่

ส่วน ผลกระทบต่อกำไรกลุ่มบริษัทจดทะเบียนฯ ในไทย ประเมินว่า จะมีผลกระทบเชิงลบต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนในไทย ภายใต้สมมติฐานที่หากกรมสรรพสามิตบังคับใช้ภาษีปล่อยคาร์บอนคาดจะชัดเจนในหลักการปี 2566 และ/หรือบริษัทสมัครใจที่จะชดเชยการปล่อยคาร์บอนเอง

โดยจากการศึกษาการปล่อยกระจายก๊าซเรือนกระจกในแต่ละหมวดอิงตามสัดส่วนของGDP และแบ่งสมมติฐานราคาคาร์บอนเป็น 3 scenarios เพื่อคำนวณผลกระทบต่อกำไรในแต่ละหมวด สรุปแล้วพบว่า 3 หมวดอุตสาหกรรมที่ปล่อย GHG ออกมามากที่สุดคือ หมวดสาธารณูปโภค (65-103tCO2e) ตามด้วยหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ (27-34tCO2e) และหมวดวัสดุก่อสร้าง (17-18tCO2e) แต่ผลกระทบต่อกำไรของแต่ละกลุ่มฯดูจะแตกต่างกันไป

ดังนั้น เราคงน้ำหนักกลุ่มโรงไฟฟ้า Neutral ผลกระทบของ Carbon credit ยังถือว่าไม่มีนัยสำคัญต่อกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยในปัจจุบันจากการควบคุมที่เป็นเพียงภาคสมัครใจเท่านั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่กฎข้อบังคับจริงจังและเข้มงวดขึ้นต่อผู้ที่ปล่อยมลพิษ อาจส่งให้ความสามารถทำกำไรจะน้อยลงจากการที่ต้องลดมลพิษในกระบวนการผลิตหรือซื้อ Carbon credit เพื่อชดเชย

ทั้งนี้ดูเหมือนว่าปัจจุบันบริษัทไทยจะยังไม่พร้อมสำหรับการใช้ข้อบังคับที่จริงจังต่อการปล่อยคาร์บอน โดยน่าจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งสำหรับการปรับตัวเพื่อลดการปล่อยมลพิษในการผลิต นอกเหนือไปจากการดำเนินธุรกิจแบบปกติ

ติดต่อเราที่…
Facebook Page : Smart Greeny
เบอร์ 089-766-1445, 0971293242
chanon@smartgreeny.com
Website : bit.ly/2XgcFTu
Line OA : @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy

#SmartGreeny #carbonfootprint #carbonfootprintforproduct #คาร์บอนฟุตพริ้นท์ #คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ #ก๊าซเรือนกระจก #ภาวะโลกร้อน #CompactGreenOfficeSoftware #CarbonFootprintSoftware #EnvironmentalConsultant #CarbonForOrganization #บริษัทสีเขียว #ลดพลังงาน #สิ่งแวดล้อม #องค์กรสีเขียว #คาร์บอนเครดิต #CarbonCredit #โรงพิมพ์ #สิ่งพิมพ์

ขอบคุณข้อมูลจาก Stock2morrow

แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *