“Climate Tech” ทางรอดภาวะโลกรวน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญ เราจึงต้องส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech มาใช้ เพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษเข้าสู่อากาศ และขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวันนี้ Smart Greeny จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการดักจับคาร์บอน (Carbon capture)
การดักจับคาร์บอน (Carbon capture) การดักจับคาร์บอน การใช้ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในปัจจุบันเทคโนโลยี CCUS มีส่วนช่วยอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานได้ในหลายแง่มุม และยังจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อลดต้นทุน ซึ่งคาดว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 60% เพื่อรักษาเสถียรภาพของสภาพอากาศภายในปี ค.ศ. 2050
💭เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนก่อนและหลังการเผาไหม้
เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนก่อนเผาไหม้อย่างหัวเชื้อเพลิงที่ทำจากก๊าซออกซิเจนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดักจับคาร์บอนจากแหล่งกำเนิดพลังงานได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนหลังเผาไหม้ อาทิ สูตรตัวทำละลาย ตัวดูดสับ และเมมเบรน จะช่วยลดต้นทุนในการดักจับคาร์บอนได้
💭การดูดอากาศโดยตรง (Direct air capture: DAC)
เป็นเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรง ด้วยวิธี DAC จะเป็นการปล่อยคาร์บอนติดลบเพื่อไปทำปฏิกิริยาในอากาศ เพื่อระงับไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส
💭พลังงานชีวภาพที่มีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (BECCS)
นวัตกรรมดักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศแล้วนำไปฝังลึกลงดิน ผ่านการขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงชีวมวลที่แปลงมาจากพืช การเพิ่มนวัตกรรม BECCS ในโรงงานพลังงานชีวภาพ จะทำให้สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ โดยสารชีวมวลจะดักจับคาร์บอน และเมื่อเชื้อเพลิงชีวมวลถูกเผาไหม้ เทคโนโลยี CCS จะป้องกันไม่ให้คาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
💭ถ่านไบโอชาร์
เป็นวัสดุคล้ายถ่าน เกิดจากการแปรรูปชีวมวลของเสีย เช่น เศษซากพืชต่าง ๆ โดยการเพิ่มถ่านไบโอชาร์ลงในดินจะช่วยปรับปรุงคุณภาพดินและผลผลิตการเกษตร รวมไปถึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์เกือบ 2 กิกะตันต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2050
💭คอนกรีตกักเก็บคาร์บอน
ส่วนประกอบของถนนคอนกรีต ที่ประกอบด้วย ซีเมนต์ และทรายหรือหินบด มีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบในซีเมนต์เพื่อที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และทำให้ซีเมนต์มีความแข็งแกร่งขึ้น กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะดักจับคาร์บอนที่มาจากของเสียที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ เช่น ขี้เถ้า ตะกรันเหล็ก และซีเมนต์ที่ผ่านการผลิตมาแล้ว
นอกจาก “Climate Tech” อย่างการดักจับคาร์บอน (Carbon capture) จะลดก๊าซเรือนกระจกในอากาศแล้ว “Climate Tech” ยังเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีบทบาทในการกระตุ้นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทั้งในด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (GHG Net Zero) การใช้ทรัพยากรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) อีกด้วย
📌นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ง่ายๆ จากเราได้ที่ LINE @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy เรามีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ติดต่อเราที่…
Facebook Page : Smart Greeny
เบอร์ 089-766-1445
chanon@smartgreeny.com
Website : bit.ly/2XgcFTu
Line OA : @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy
#SmartGreeny #carbonfootprint #carbonfootprintforproduct #คาร์บอนฟุตพริ้นท์ #คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ #ก๊าซเรือนกระจก #ภาวะโลกร้อน #CompactGreenOfficeSoftware #CarbonFootprintSoftware #EnvironmentalConsultant #CarbonForOrganization #บริษัทสีเขียว #ลดพลังงาน #สิ่งแวดล้อม #องค์กรสีเขียว #คาร์บอนเครดิต #CarbonCredit
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก สำนักงงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)