นวัตกรรม “เนยไร้นม” ผลิตเนยจาก CO2

นวัตกรรม “เนยไร้นม” ผลิตเนยจาก CO2

“ไม่มีชีววิทยาใดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของเรา” แคธลีน อเล็กซานเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Savor กล่าว

Savor สตาร์ทอัพจากสหรัฐ สตาร์ทอัพที่ บิล เกตส์ ให้การสนับสนุนซุ่มพัฒนา “เนย” ที่ผลิตจาก “ก๊าซคาร์บอน” ซึ่งไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย Savor ใช้กระบวนการปิโตรเคมีที่เรียกว่าการสังเคราะห์ Fischer-Tropsch เพื่อเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และถ่านหิน กลายเป็นไฮโดรคาร์บอน ในการผลิตสเปรดทาขนมปังที่มีไขมันคล้ายกับเนย

วิธีการนี้ใช้เพียงคาร์บอนไดออกไซด์ ความร้อน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเท่านั้น โดยจะดึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ และดึงไฮโดรเจนออกจากน้ำ จากนั้นให้ความร้อนและออกซิไดซ์ให้กลายเป็นไขมัน

ผลงานชิ้นนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากบิล เกตส์ ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของผลิตภัณฑ์จากไขมันสัตว์ ซึ่งมหาเศรษฐีผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft อธิบายว่าทำไมบริษัท Breakthrough Energy Ventures หรือ BEV บริษัทที่ลงทุนด้านพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ของเขาถึงตัดสินใจร่วมลงทุนใน Savor

“กระบวนการนี้ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย ไม่มีการใช้พื้นที่เพาะปลูก และใช้น้ำน้อยกว่าหนึ่งในพันของปริมาณน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงวัว และที่สำคัญที่สุดคือ มีรสชาติดีมาก เหมือนของจริง” เกตส์อธิบาย

Savor ตั้งเป้าว่าเนยที่ผลิตจากคาร์บอนจะเป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัท โดยอาจจะเริ่มวางจำหน่ายในอีก 1-2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น นม ไอศกรีม ชีส เนื้อสัตว์ และแม้แต่น้ำมันพืชที่ใช้บ่อยในประเทศเขตร้อน (tropical oils)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอาหารสังเคราะห์ส่วนใหญ่ เช่น เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ยังคงมีราคาแพง เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตสูง และยังไม่เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากนัก ซึ่ง Savor ยืนกรานว่าจะสามารถแข่งขันกับต้นทุนของเนยแท้ได้

ติดต่อเราที่…
Facebook Page : Smart Greeny
เบอร์ 089-766-1445
chanon@smartgreeny.com
Website : bit.ly/2XgcFTu
Line OA : @smartgreeny หรือแอดเลย https://lin.ee/HqiVCVy

#SmartGreeny #carbonfootprint #carbonfootprintforproduct #คาร์บอนฟุตพริ้นท์ #คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ #ก๊าซเรือนกระจก #ภาวะโลกร้อน #CompactGreenOfficeSoftware #CarbonFootprintSoftware #EnvironmentalConsultant #CarbonForOrganization #บริษัทสีเขียว #ลดพลังงาน #สิ่งแวดล้อม #องค์กรสีเขียว #คาร์บอนเครดิต #CarbonCredit

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokbiznews.com

แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *